เมนู

5. อรรถกถาภัททาลิสูตร


ภัททาลิสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอกาสนโภชนํ ได้แก่ ฉันอาหารในเวลาก่อน
ภัตหนเดียว ความว่าอาหารที่ควรฉัน. บทมีอาทิว่า อปฺปาพาธตํ ความเป็น
ผู้มีอาพาธน้อยกล่าวไว้พิสดารแล้วในกกโจปมสูตร. บทว่า น อุสฺสหามิ คือ
ไม่สามารถ. บทว่า สิยา กุกฺกุจฺจํ สิยา วิปฺปฏิสาโร พึงมีความรำคาญ พึง
มีความเดือดร้อน ความว่า เมื่อฉันอย่างนี้จะพึงมีความเดือดร้อนรำคาญแก่เรา
ว่า เราจักสามารถพระพฤติพรหมจรรย์ได้ตลอดชีวิตหรือไม่หนอ. บทว่า
เอกเทสํ ภุญฺชิตฺวา พึงฉันส่วนหนึ่ง ความว่า ได้ยินว่าพระเถระแต่ก่อนเมื่อ
ทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่งแล้ว
ล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดา
ตรัสหมายถึงอย่างนั้น. แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก
ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วลา้งบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุกไปในภาย
นอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใคร
เล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้นท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารแม้อย่างนี้ได้.
ได้ยินว่า ในอดีตท่านพระภัททาลินี้เกิดในกำเนิดกา ในชาติเป็นลำดับ
มา. ธรรมดา กาทั้งหลายเป็นสัตว์ที่หิวบ่อย. เพราะฉะนั้นพระเถระจึงชื่อว่า
เป็นผู้หิว. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถม
พระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่ง

ของเคี้ยวของบริโภค ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วในเมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานาอยู่ซึ่ง
สิกขา. บทว่า ยถาตํ ความว่า ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่
ทำความบริบูรณ์ในสิกขา แม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่พึงให้ตนประสบพระพักตร์
พระศาสดา. ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า. ไม่ไปยังที่แสดงธรรม. ไม่ไป
โรงตรึก ไม่ปฏิบัติเพียงภิกขาจารครั้งเดียว. ไม่ยืนแม้ที่ประตูของตระกูลที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนิ่ง. หากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังที่อยู่ของ
พระภัททาลินั้น. พระภัททาลิรู้ก่อนก็ไปเสียในที่อื่น. นัยว่าท่านพระภัททาลิ
นั้นเป็นกุลบุตรบวชด้วยศรัทธามีศีลบริสุทธิ์. ด้วยเหตุนั้นวิตกอย่างอื่นมิได้มี
แก่ท่านพระภัททาลินั้น. ได้มีวิตกนี้เท่านั้นว่า เราคัดค้านการบัญญัติสิกขาบท
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุแห่งท้อง. เราทำกรรมไม่สมควร. เพราะ
ฉะนั้น ท่านพระภัททาลิแม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์
พระศาสดา.
บทว่า จีวรกมฺมํ กโรนฺติ ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกรรม ความว่าพวก
มนุษย์ได้ถวายผ้าสาฎกทำจีวรแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุทั้งหลายจึงถือเอา
จีวรสาฎกนั้นทำจีวร. บทว่า เอตํ เทสํ ความผิดนี้ ความว่าท่านจงมนสิการ
โอกาสนี้ ความผิดนี้คือเหตุที่ท่านคัดค้านการบัญญัติสิกขาบทของพระศาสดาให้
ดี. บทว่า ทุกฺกรตรํ การทำที่ยากกว่า ความว่า พวกภิกษุถามภิกษุทั้งหลายผู้อยู่
จำพรรษาแล้วหลีกออกไปตามทิศว่า ท่านทั้งหลายอยู่ ณ ที่ไหน. เมื่อภิกษุทั้ง
หลายบอกว่าอยู่ ณ พระเชตวัน . ภิกษุเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย
ในภายในพรรษานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกอะไร. ตรัสพระสูตรอะไร.

ทรงบัญญัติสิกขาบทอะไร. ภิกษุทั้งหลายจักบอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติวิกาลโภชนสิกขาบท. แต่พระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าภัททาลิได้คัดค้าน. ภิกษุ
ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงพากันกล่าวว่า ธรรมดาแม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
บัญญัติสิกขาบทมิใช่เหตุอันไม่ควรคัดค้าน. ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าความผิดของ
ท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนอย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าว
อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เหล่าอื่นครั้นออกพรรษาแล้วจักพากันไปเฝ้า
พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักประชุมสงฆ์ด้วยกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลายเมื่อ
ผมยังพระศาสดาให้ทรงยกโทษในความผิดนี้ขอพวกท่านจงเป็นเพื่อนผมด้วย
เถิด. อาคันตุกภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโส ภิกษุนี้ทำอะไรเล่า.
ครั้นพวกอาคันตุกภิกษุฟังความนั้นแล้วจักกล่าวว่า ภิกษุทำกรรมหนัก. กรรม
นี้ไม่สมควรเลยที่ภิกษุจักคัดค้านพระทศพล. ภิกษุทั้งหลายแม้สำคัญอยู่ว่า ความ
ผิดของท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนแม้อย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยาก
จึงกล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นออกพรรษาแล้วจักทรงหลีกไป
จาริก. เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักประชุมสงฆ์เพื่อขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก
โทษในที่ที่เสด็จไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในทิศ ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโส
ทั้งหลายภิกษุนี้ทำกรรมอะไรไว้ ฯ ล ฯ แม้สำคัญอยู่ว่าความผิดนี้จักถึงความเป็น
ผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เอตทโวจ ท่านพระภัททาลิได้กล่าวคำ
นั้นความว่า ท่านพระภัททาลิแม้สำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักยกโทษแก่เรา
ได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า อจฺจโย มํ ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบ
งำข้าพระองค์ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อจฺจโย คือ โทษ. บทว่า มํ อจฺจคมา ได้
ครอบงำข้าพระองค์คือโทษได้ล่วงล้ำครอบงำข้าพระองค์เป็นไปแล้ว. บทว่า
ปฏิคฺคณฺหาตุ คือขอจงทรงยกโทษ. บทว่า อายตึ สํวราย เพื่อความสำรวม
ต่อไป คือ เพื่อต้องการความสำรวมในอนาคต เพื่อไม่ทำความผิดความพลั้ง-
พลาดเห็นปานนี้อีก. บทว่า ตคฺฆ คือโดยแน่นอน. บทว่า ยถาธมฺมํ ปฏิกโรสิ
เธอทำคืนตามชอบธรรม คือ เธอดำรงอยู่ ในธรรมอย่างใดจงทำอย่างนั้น.
อธิบายว่า ให้ยกโทษ. บทว่า ตนฺเต มยํ ปฏิคฺคณฺหาม คือเรายกโทษของ
ท่านนั้น. บทว่า วุฑฺฒิ เหสา ภทฺทาลิ อริยสฺส วินเย ความว่า ดูก่อน
ภัททาลิ นี้ชื่อว่าเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า คือในศาสนาของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. การเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามสมควรแก่
ธรรมแล้วถึงความสำรวมต่อไปเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ
ใดทำเทศนาให้เป็นบุคลาธิษฐาน เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตาม
สมควรแก่ธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมต่อไป.
บทว่า สมโยปิ โข เต ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุหนึ่งอันควรที่เธอพึงแทงตลอดมีอยู่. เธอก็มิได้แทง
ตลอด มิได้กำหนดไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุภโตภาควิมุตฺโต พระอริยบุคคล
ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตเป็นต้น ดังต่อไปนี้. บุคคลทั้งหลายผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยมรรคในขณะจิตหนึ่ง 2 จำพวกคือ พระอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี 1
พระอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี 1. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงให้พระอริย-
บุคคล 7 จำพวกเหล่านี้ทำตามคำสั่งก็ไม่ควร. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงออกคำสั่งแล้ว พระอริยบุคคลเหล่านั้นก็ไม่ควรเพื่อทำอย่างนั้น. อนึ่งเพื่อ

แสดงความที่พระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่ายด้วยการกำหนดมิใช่ฐานะและ
เพื่อแสดงความที่พระภัททาลิเถระเป็นผู้ว่ายาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตวํ
ตสฺมึ สมเย อุกโตภาควิมุตฺโต
ในสมัยนั้นเธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า
อุภโตภาควิมุต บ้างหรือหนอ. เพื่อข่มพระภัททาลิ. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไป
นี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล 7 จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลใน
โลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่
พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่
เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควร
คัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือ พระภัททาลิเป็น
คนว่างคนเปล่าเพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ.
บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ความว่า
ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิก
ของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียน
อย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการ
อยู่ป่าของภิกษุนั้น . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติ-
เตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ
แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง
ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญ
ว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ อุปวทิโต
แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน.
ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทมีอาทิว่า โส วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุนั้น
สงัดจากกาม เพื่อแสดงบทว่า เอวํ สจฺฉิกโรติ ภิกษุย่อมทำให้แจ้งอย่างนี้.
บทว่า ปวยฺห ปวยฺห การณํ กาเรนติ ภิกษุทั้งหลายข่มแล้วข่มเล่าแล้วทำให้
เป็นเหตุ คือ ข่มโทษแม้มีประมาณน้อยแล้วทำบ่อย ๆ. บทว่า โน ตถา ไม่ข่ม
อย่างนั้น คือไม่ข่มความผิดแม้ใหญ่เหมือนภิกษุนอกนี้แล้วทำเป็นเหตุ.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ ท่านอย่าคิดไปเลย
ชื่อว่ากรรมเห็นปานนี้ย่อมมี ท่านจงมาขอให้พระศาสดาทรงยกโทษเถิด แล้วส่ง
ภิกษุรูปหนึ่งจากหมู่ภิกษุให้เรียกพระภัททาลิมาหาตน หวังการอนุเคราะห์จาก
สำนักของพระศาสดาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ เธออย่าคิดไปเลย กรรมเห็น
ปานนี้ย่อมมี. จากนั้น ท่านพระภัททาลิคิดว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้พระศาสดา
ก็มิได้ปลอบเราเลยแล้วจึงกล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้พระ-
ศาสดาก็ย่อมที่สั่งสอนและสอนผู้ที่ควรสั่งสอน มิได้ทรงสั่งสอนและสอนนอก
ไปจากนี้จึงตรัสบทมีอาทิว่า อิธ ภทฺทาลิ เอกจฺโจ ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูป
ในธรรมวินัยนี้. ในบทเหล่านั้นบทมีอาทิว่า อญฺเญนญฺญํ อย่างอื่นด้วยอาการ
อย่างอื่น ท่านกล่าวพิสดารแล้วในอนุมานสูตร. บทว่า น สมฺมา วตฺตติ ไม่
ประพฤติโดยชอบ คือไม่ประพฤติในวัตรโดยชอบ. บทว่า น โลมํ วตฺเตติ
ไม่ทำขนให้ตก ได้แก่ไม่ประพฤติในอนุโลมวัตรคือถือเอาย้อนขน. บทว่า
นิตฺถารํ วตฺตติ
ไม่ประพฤติถอนตนออก คือไม่ประพฤติในวัตรคือการถอน
ตนออก ไม่พอใจรีบด่วนเพื่อออกจากอาบัติ. บทว่า ตตฺร คือในเหตุแห่ง
การว่ายากนั้น. บทว่า อภิณฺหาปตฺติโก คือเป็นผู้ต้องอาบัติเนื่อง ๆ. บทว่า
อาปตฺติพหุโล เป็นผู้มากด้วยอาบัติ. คือเวลาต้องอาบัติมีมาก เวลาบริสุทธิ์

ไม่ต้องอาบัติมีน้อย. บทว่า น ขิปฺปเมว วูปสมติ คือ อธิกรณ์ไม่ระงับ
เร็ว เป็นผู้นอนหลับนาน.
พระวินัยธรทั้งหลายกล่าวกะภิกษุผู้มาในเวลาล้างเท้าว่า อาวุโส จงไป
ได้เวลาปฏิบัติแล้ว. กล่าวกะภิกษุผู้รู้เวลามาแล้วอีกมีอาทิว่า อาวุโส จงไปได้
เวลากวาดวัดแล้ว ได้เวลาสอนสามเณรเป็นต้นแล้ว . ได้เวลาอาบน้ำของเรา
แล้ว. ได้เวลาอุปัฏฐากพระเถระแล้ว. ได้เวลาล้างหน้าแล้ว. แล้วส่งภิกษุผู้มา
ในตอนกลางวันบ้าง ในตอนกลางคืนบ้างไป. เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านขอรับ
จักมีโอกาสในเวลาไหนอีก, จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาวุโส จงไปเถิด. ท่านย่อม
รู้ถึงฐานะนี้. พระเถระผู้เป็นวินัยธร รูปโน้นจะดื่มน้ำมัน. รูปโน้นจะให้ทำ
การสวน. (สวนทวาร) เพราะเหตุไรท่านจึงรีบร้อนนักเล่า. แล้วนอนหลับ
นานต่อไป. บทว่า ขิปฺปเมว วูปสมติ อธิกรณ์ย่อมระงับเร็ว. คือ ระงับ
เร็ว ไม่นอนหลับนาน.
ภิกษุทั้งหลายผู้มีความขวนขวายกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้
เป็นผู้ว่าง่าย. ชื่อว่าภิกษุผู้อยู่ในชนบท ย่อมไม่มีความผาสุก มีการอยู่ การยืน
และการนั่งเป็นต้น ในเสนาสนะท้ายบ้าน. แม้ภิกขาจารก็ลำบาก. อธิกรณ์
ของภิกษุรูปนั้นระงับได้เร็ว แล้วประชุมกันให้ภิกษุนั้นออกจากอาบัติ ให้ตั้ง
อยู่ในความบริสุทธิ์.
บทว่า อาธิจฺจาปตฺติโก คือ ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง.
ภิกษุนั้นแม้เป็นผู้มีความละอาย เรียบร้อยก็จริง. แต่เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก
ภิกษุทั้งหลายจึงต้องปฏิบัติอย่างนั้น.
บทว่า สทฺธามตฺตเกน วหติ เปมมตฺตเกน ภิกษุบางรูปนำชีวิต
ไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ความว่า ภิกษุบางรูป

ยังชีวิตให้เป็นไปในอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย ด้วยศรัทธาเกี่ยวกับครอบ-
ครัวมีประมาณน้อย ด้วยความรักเกี่ยวกับครอบครัวมีประมาณน้อย. ชื่อว่า
บรรพชา นี้เช่นกับถือเอาปฏิสนธิ. ภิกษุบวชใหม่ยังไม่รู้คุณของบรรพชา ยัง
ชีวิตให้เป็นไปด้วยความรักพอประมาณในอาจารย์และอุปัชฌาย์. เพราะฉะนั้น
ควรสงเคราะห์ ควรอนุเคราะห์ ภิกษุเห็นปานนี้. เพราะภิกษุทั้งหลายครั้นได้
สงเคราะห์ แม้มีประมาณน้อย แล้วตั้งอยู่ในบรรพชา จักเป็นมหาสมณะสำเร็จ
อภิญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า พระศาสดาย่อมทรง
สั่งสอนผู้ที่ควรสั่งสอน ด้วยกถามรรคประมาณเท่านี้. นอกนี้ไม่ทรงสั่งสอน.
บทว่า อญฺญาย สณฺฐหึสุ คือ ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผล.
บทว่า สตฺเตสุ หายมาเนสุ เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม คือ เมื่อ
การปฏิบัติเสื่อม สัตว์ก็ชื่อว่า เสื่อม. บทว่า สทฺธมฺเม อนฺตรธายมาเน
เมื่อพระสัทธรรมกำลังอันตรธาน คือ เมื่อปฏิบัติสัทธรรม กำลังอันตรธาน.
จริงอยู่ เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ชื่อว่าอันตรธาน.
บทว่า อาสวฏฺฐานียา คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะทั้งหลาย. อธิบายว่า
อาสวะทั้งหลายมีการติเตียนผู้อื่น ความเดือดร้อน การฆ่า และการจองจำ
เป็นต้น และเป็นความพิเศษแห่งทุกข์ในอบาย ย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่าใด.
เพราะฉะนั้น เหตุนั้นย่อมมีแก่ธรรมเหล่านั้น. ในบทนี้โยชนาแก้ไว้ว่า
วีติกกมธรรม (ธรรมคือความก้าวล่วง) อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยัง
ไม่ปรากฏในสงฆ์เพียงใด. พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย
เพียงนั้น . บทว่า ยโต จ โข ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง
อกาละอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงถึงกาละต่อไป ตรัสคำมีอาทิว่า ยโต จ โข
ภทฺทาลิ
ในบทเหล่านั้นบทว่า ยโต คือ ในกาลใด. บทที่เหลือพึงทราบ

โดยท่านองเดียวกันดังได้กล่าวแล้วนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง ความสังเขปในบท
นี้มีดังนี้. ในกาลใดวีติกกมโทษอันนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏใน
สงฆ์. ในกาลนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย. เพราะเหตุไร.
เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษ อันได้แก่ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้นนั่น
แหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงอกาละแห่งกาลบัญญัติสิกขาบท อันยัง
ไม่เกิดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้ และกาละอันเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเป็น
ที่ตั้งแห่งอาสวะ แล้วบัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงกาละอันยังไม่เกิดธรรมเหล่านั้น
และกาละอันเกิดธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว ภทฺทาลิ อิเธกจฺเจ
คือ ธรรมเป็นที่ทั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า มหตฺตํ คือ ความเป็นใหญ่. จริงอยู่ สงฆ์
เป็นผู้ถึงความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งพระนวกะ พระมัชฌิมะ และพระเถระ
ทั้งหลาย เพียงใด. เสนาสนะย่อมมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า
ยังไม่เกิดขึ้นในศาสนา เพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ ธรรมเหล่า
นั้นจึงเกิดขึ้น. เมื่อเป็นดังนั้นพระศาสดาย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท. เมื่อสงฆ์
ถึงความเป็นใหญ่ พึงทราบสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้โดยนัยนี้ว่า ภิกษุนอน
ร่วมกับอนุปสัมบันเกิน 2-3 ราตรีขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. ภิกษุณียังภิกษุผู้ยิ่งไม่
มีพรรษาให้ลุกออกไป เป็นปาจิตตีย์. ภิกษุณียังภิกษุหนึ่งพรรษา สองพรรษา
ให้ลุกไป เป็นปาจิตตีย์.
บทว่า ลาภคฺคํ คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่
ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เพียงใด. ธรรมเป็นที่ดังแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยลาภเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงเกิด. เมื่อเป็น
เช่นนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก

ก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือตนเองต้องปาจิตตีย์. เพราะ
เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท
นี้. บทว่า ยสคฺคํ คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยยศ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความ
เป็นผู้เลิศด้วยยศเพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ยศเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้วธรรมเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น
พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุดื่มน้ำเมาท้องปาจิตตีย์. เพราะเมื่อ
สงฆ์ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้. บทว่า
พาหุสจฺจํ คือ ความเป็นพหูสูต. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต
เพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะจึงยังไม่เกิดเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความ
เป็นพหูสูต บุคคลทั้งหลายเล่าเรียนนิกาย 1 บ้าง 2 นิกายบ้าง 5 นิกายบ้าง
เกลาโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรสด้วยรส แล้วแสดงคำสอนของพระศาสดา
นอกธรรมนอกวินัย. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทโดยนัย
มีอาทิว่า ภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
แล้วอย่างนั้น ฯ ล ฯ แม้สมณุเทศก็พึงกล่าวอย่างนั้น.
พึงทราบความในบทนี้ว่า รตฺตญฺญุตปปตฺโต ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี.
ชื่อว่า รตฺตญฺญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรี. คือ รู้ราตรีมากตั้งแต่วันที่ตน
บวช. อธิบายว่า บวชนาน. ความเป็นแห่งผู้รู้ราตรี ชื่อว่า รตฺตญฺญุตํ
ในบทนั้นพึงทราบว่า เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี พระศาสดาจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทปรารภท่านอุปเสนวังคันตบุตร เพราะท่านอุปเสนวังคันตบุตรนั้นเห็น
ภิกษุทั้งหลาย มีพรรษาหย่อน 10 ให้อุปสมบท ตนมีพรรษาเดียวให้สัทธิ-
วิหาริกบวช. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน 10 ไม่ควรให้กุลบุตรบวช. ภิกษุ

ให้กุลบุตรบวชต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบัญญัติสิกขาบท
อย่างนี้ ภิกษุเขลาไม่ฉลาด ให้กุลบุตรบวชอีกด้วยคิดว่าเรามีพรรษา 10 แล้ว
เรามีพรรษา 10 แล้ว. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติ
สิกขาบทแม้อื่นอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่ควรให้
กุลบุตรบวช ภิกษุให้กุลบุตรบวช ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ฉลาด ผู้สามารถมีพรรษา 10 หรือมีพรรษาหย่อนกว่า 10 เราอนุญาต
ให้บวชกุลบุตรได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท 2 ข้อ ในเวลา
ที่สงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อาชานียสุสูปมํ ธมฺมปริยายํ เทเสสึ คือ เราแสดง
ธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม. บทว่า ตตฺถ คือ ในการระลึกไม่
ได้นั้น. บทว่า น โข ภทฺทาลิ เอเสว เหตุ คือ ความเป็นผู้ไม่ทำให้
บริบูรณ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุหามิได้.
บทว่า มุขาธาเน การณํ กาเรติ ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเหียน
คือ ฝึกให้รู้เหตุ เพื่อยกคอให้ดีในการใส่บังเหียนเป็นต้นที่ปาก. ด้วยบทมี
อาทิว่า วิสูกายิกานิ ประพฤติเป็นข้าศึก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความ
ประพฤติพยศ. บทนี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า ตสฺมึ ฐาเน
ในฐานะนั้น คือ ในการประพฤติพยศนั้น. บทว่า ปรินิพฺพายติ สงบ คือ
หมดพยศ. อธิบายว่า ละความพยศนั้นได้. บทว่า ยุคาธาเน ในการเทียม
แอก คือ ในการวางแอกเพื่อประคองแอกให้ดี. บทว่า อนุกฺกเม ในการ
ก้าวย่าง คือ ในการยกและการวางเท้าทั้ง 4 ครั้งเดียวกัน. ย่อมยืนในหลุม
ถือดาบตัดเท้าม้าของข้าศึกที่กำลังเดินมาอยู่ ในสมัยนั้น ม้านั้นจักยกเท้าแม้ทั้ง 4
ครั้งเดียวกัน เพราะเหตุนั้น คนฝึกม้าจึงฝึกให้รู้เหตุนั้นด้วยวิธีผูกเชือก. บทว่า

มณฺฑเล ในการวิ่งเป็นวงกลม คือ ฝึกให้รู้เหตุในการวิ่งเป็นวงกลม เพื่อทำ
โดยอาการที่ผู้นั่งบนหลังสามารถเก็บอาวุธที่ตกบนแผ่นดินได้. บทว่า ขุรกาเส
ในการจรดกีบ คือ ในการเอาปลายกีบจรดแผ่นดิน. เพราะในเวลาวิ่งไปใน
กลางคืน เพื่อมิให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท้า จึงให้สัญญาในที่แห่งหนึ่งแล้วให้ศึกษา
การเดินด้วยปลายกีบ. ท่านกล่าวบทนี้หมายถึงไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท่านั้น.
บทว่า ธาเร ในการวิ่ง คือ ในการเป็นพาหนะเร็วไว. บาลีว่า ธาเว ก็มีฝึกให้รู้
เหตุนั้น เพื่อหนีในเมื่อตนแพ้ และเพื่อติดตามจับข้าศึกที่หนี. บทว่า รวตฺเถ
ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง คือ เพื่อประโยชน์แก่การร้อง. เพราะในการรบ เมื่อ
ช้างแผดเสียงร้อง ม้าคะนอง รถบุกทำลาย หรือทหารโห่ร้องยินดี เพื่อมิให้กลัว
เสียงร้องนั้น แล้วให้เข้าไปหาข้าศึก จึงฝึกให้รู้เหตุนั้น. บทว่า ราชคุเณ ใน
การเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้. ได้ยินว่า พระราชากูฏกัณฐะได้มีม้าชื่อว่า
ตุฬวณะ. พระราชาเสด็จออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จถึงฝั่งกทัมพนที
ด้วยทรงพระดำริว่า เราจักไปเจดีย์บรรพต. ม้ายืนใกล้ฝั่งไม่ปรารถนาจะข้าม
น้ำไป. พระราชาตรัสเรียกคนฝึกม้ามาแล้วตรัสว่า โอ ม้าที่เจ้าฝึกไม่ปรารถนา
จะข้ามน้ำ. คนฝึกม้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ น่าอัศจรรย์ ม้านี้ข้าพระองค์
ฝึกดีแล้ว. ม้าอาจคิดว่า หากเราจักข้ามน้ำ หางก็จักเปียก เมื่อหางเปียกน้ำ
จะพึงเปียกที่พระวรกายของพระราชา เพราะเหตุนั้น ม้าจึงไม่ข้ามเพราะเกรง
ว่าน้ำจะเปียกที่พระวรกายของพระองค์ ด้วยอาการอย่างนี้. ขอพระองค์โปรด
ให้จับทางม้าไว้เถิดพระเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงให้ทำอย่างนั้น. ม้ารีบข้ามไป
ถึงฝั่ง. คนฝึกม้าฝึกให้รู้เหตุนี้เพื่อต้องการอย่างนั้น. บทว่า ราชวํเส ใน
วงศ์พญาม้า จริงอยู่ วงศ์ของพญาม้านั้นมีอธิบายว่า แม้ร่างกายจะถูกแทง
ทำลายไป ด้วยการประหารเห็นปานนั้น ก็ไม่ทำให้คนขี่ม้าตกไปในหมู่ข้าศึก

ย่อมนำออกไปภายนอกได้. ฝึกให้รู้เหตุเพื่อประโยชน์นั้น. บทว่า อุตฺตเม
ชเว
ในความว่องไวชั้นเยี่ยม คือ ในการถึงพร้อมด้วยกำลัง อธิบายว่า
ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่มีกำลังชั้นเยี่ยม. บทว่า อุตฺตเม หเย ในความเป็น
ม้าชั้นเยี่ยม อธิบายว่า ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่เป็นม้าชั้นเยี่ยม. ในบทนั้น
ตามปรกติม้าชั้นเยี่ยมย่อมควรแก่เหตุแห่งความเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นไม่ควร.
ม้าย่อมปฏิบัติ ความมีกำลังชั้นเยี่ยมอย่างนี้ด้วยเหตุเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นย่อม
ไม่ปฏิบัติ ความมีกำลังชั้นเยี่ยม.
ในม้าชั้นเยี่ยมนั้น มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้. ได้ยินว่าพระราชาองค์หนึ่ง
ได้ลูกม้าสินธพไว้ตัวหนึ่ง แต่ไม่ทรงทราบว่าเป็นม้าสินธพ จึงได้ทรงให้คนฝึก
ม้า เอาม้านี้ไปฝึก. แม้คนฝึกม้าก็ไม่รู้ว่าม้านั้นเป็นม้าสินธพ จึงนำถั่วเหลือง
ไปให้ลูกม้ากิน. ลูกม้าก็ไม่กินเพราะไม่สมควรแก่ตน. คนฝึกม้าไม่สามารถฝึกม้า
นั้น ได้จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ม้านี้เป็นม้าโกง พระเจ้าข้า แล้ว
ปล่อยไป. วันหนึ่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เคยเป็นคนฝึกม้า ผู้ถือสิ่งของของอุปัชฌาย์
ไปเห็นม้านั้นเที่ยวไปบนหลังคู จึงเรียนอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ ลูกม้าสินธพหา
ค่ามิได้ หากพระราชาทรงทราบพึงทำลูกม้านั้นไห้เป็นม้ามงคล. พระเถระกล่าว
ว่า นี่คุณ พระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้ากระไร พึงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
เธอจงไปทูลพระราชาเถิด. ภิกษุหนุ่มไปทูลพระราชาว่า มหาบพิตร มีลูกม้า
สินธพหาค่ามิได้อยู่ตัวหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่าพระคุณเจ้าเห็นหรือ, ภิกษุ
หนุ่มถวายพระพรว่า เห็นมหาบพิตร. ตรัสถามว่า ได้อะไรจึงจะควร. ถวาย
พระพรว่า ควรได้พระกระยาหารที่มหาบพิตรเสวยในภาชนะทองที่ใส่เครื่อง
เสวยของมหาบพิตร รสเครื่องดื่มของมหาบพิตร กลิ่นหอมดอกไม้ของ
มหาบพิตร ถวายพระพร. พระราชารับสั่งให้ให้ทุกอย่าง. ภิกษุหนุ่มได้ให้คนถือ
นำไป. ม้าสูดกลิ่นคิดว่า ผู้ฝึกม้ารู้คุณของเราเห็นจะพอมีจึงยกศีรษะยืนแลดูอยู่.

ภิกษุหนุ่มเดินไปดีดนิ้วมือกล่าวว่า กินอาหารเถิด. ม้าเดินตรงมากินอาหารใน
ถาดทอง. ดื่มน้ำมีรส.
ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มเอากลิ่นหอมลูบไล้ม้าแล้วประดับเครื่องประดับของ
พระราชา ดีดนิ้ว กล่าวว่า จงไปข้างหน้าเถิด. ม้าเดินไปข้างหน้าภิกษุหนุ่ม
ได้ยืนในที่ของม้ามงคล. ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ลูกม้านี้หา
ค่ามิได้. ขอมหาบพิตรโปรดให้คนฝึกม้าประคบประหงมม้านั้นโดยทำนองนี้สัก
2-3 วันเถิด แล้วก็ออกไป.
ครั้นล่วงไป 2-3 วัน ภิกษุหนุ่มมาทูลถามว่า ขอถวายพระพร มหา
บพิตรจะทรงดู อานุภาพของม้าหรือ. ตรัสว่า ดีซิอาจารย์. เรายืนที่ไหนจึงจะเห็น
เล่า.ถวายพระพรว่า ขอมหาบพิตรเสด็จไปยังพระอุทยานเถิด. พระราชารับสั่งให้
จับม้าไป. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือให้สัญญาแก่ม้าว่า เจ้าจงวิ่งไปรอบต้นไม้ต้นหนึ่ง.
ม้าวิ่งไปรอบต้นไม้แล้วก็มา. พระราชามิได้ทรงเห็นม้าวิ่งไปวิ่งมา. ภิกษุหนุ่ม
ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่ม
ทูลว่า ขอมหาบพิตรวางไม้ทำเครื่องหมายพิงค้นไม้ต้นหนึ่งไว้แล้วดีดนิ้วมือ
กล่าวว่า เจ้าจงคาบไม้เครื่องหมายนั้นมา. ม้าวิ่งไปคาบไม้นั้นมา ทูลถามว่า
มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือ
อีกกล่าวว่า เจ้าจงวิ่งไปรอบ ๆ จนสุดกำแพงพระอุทยานมาเถิด. ม้าได้ทำอย่าง
นั้น. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า.
ภิกษุหนุ่มให้นำผ้ากัมพลสีแดงมาแล้วให้ผูกที่เท้าม้า ได้ให้สัญญาเหมือนอย่าง
นั้น. ม้ากระโดดวิ่งไปจนสุดกำแพง. ได้ปรากฏ ณ สุดกำแพงพระอุทยานดุจ
เปลวลูกไฟที่บุรุษมีกำลังแกว่ง. ม้าไปยืนอยู่ ณ ที่ใกล้. ทูลถามว่า มหาบพิตร
ทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า. ภิกษุได้ให้สัญญาว่า เจ้าจงวิ่ง
ไปรอบ ๆ จนสุดกำแพงสระมงคลโบกขรณี. ม้าได้วิ่งไปรอบ ๆ จนสุดกำแพง

สระมงคลโบกขรณี. ภิกษุหนุ่มได้ให้สัญญาอีกว่า เจ้าจงหยั่งลงสู่สระโบกขรณี
แล้ววิ่งไปบนใบบัวทั้งหมด. มิได้มีแม้แต่ใบหนึ่งที่ไม่ได้เหยียบก็ดี ฉีกขาดหัก
หักก็ดี. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า.
ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือแล้ว ยื่นฝ่ามือออกไป. ม้าเร็วดุจลมได้กระโดดไปยืนบน
ฝ่ามือ. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า.
ม้าชั้นเยี่ยมอย่างนี้ย่อมปฏิบัติกำลังชั้นเยี่ยม ด้วยเหตุอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.
บทว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้น
เยี่ยม. ความว่า ควรฝึกเหตุแห่งการเป็นม้าชั้นเยี่ยมด้วยวาจาอ่อนหวานว่า
ดูก่อนพ่อม้าเจ้าอย่าคิดไปเลย. เจ้าจักเป็นม้ามงคลของพระราชา, เจ้าจักได้
อาหารมีพระกระยาหารเครื่องเสวยของพระราชาเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ดังนี้. บทว่า ราชโภคฺโค คือ เป็นพาหนะ
สำหรับใช้สอยของพระราชา. บทว่า รญฺโญ องฺคนฺเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ
นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ความว่าพระราชาเสด็จไปในที่ไหน ๆ ไปไม่
ทอดทิ้งดุจมือและเท้าเพราะฉะนั้นจึงนับว่าเป็นองค์. หรือเป็นองค์หนึ่งในองค์
แห่งเสนา 4 เหล่า. บทว่า อเสกฺขาย สมฺมาทิฏฺฐิยา สัมมาทิฏฐิอันเป็น
ของพระอเสขะคือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอรหัตผล. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น
ก็สัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น . สัมมาญาณเป็น สัมมาทิฏฐิดังกล่าวแล้วในก่อน.
อนึ่ง ธรรมที่เหลือเว้นองค์แห่งผล 8 พึงทราบว่าเป็นวิมุตติ. บทที่เหลือในบท
ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระ-
อรหัต แล้วจบลงด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาภัททาลิสูตรที่ 5

6. ลฑุกิโกปมสูตร


พระอุทายี


[175] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท มี
นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปนะเป็นโคจรคาม ครั้งนั้น เวลาเข้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปน-
นิคม ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจาก
บิณฑบาตแล้วเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อประทับพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่งเวลาเช้าวันนั้น แม้ท่านพระอุทายีก็นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปบิณฑบาตยังอาปนนิคม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลา
ปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น เพื่อพักกลางวัน ครั้น
ถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว นั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น เมื่อท่าน
พระอุทายีอยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้หนอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากเข้ามาให้แก่เรา
ทั้งหลายหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลาย
ออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากเข้ามาให้แก่
เราทั้งหลายหนอ ลำดับนั้นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง